สรุปลิสต์ข้อดีข้อเสียของการมีเว็บไซต์ ecommerce สำหรับธุรกิจ 03/Oct/2024 12:00 PM
สรุปลิสต์ข้อดีข้อเสียของการมีเว็บไซต์ ecommerce สำหรับธุรกิจ
สำหรับโลกธุรกิจในปัจจุบัน ร้านค้าออนไลน์นับเป็นอีกโอกาสหนึ่งสำหรับธุรกิจที่มุ่งหวังจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ยิ่งหากหลาย ๆ แบรนด์ในแวดวงธุรกิจเดียวกันต่างก็มี ecommerce platform ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่ากันหมดแล้ว ก็ยิ่งทำให้เราต้องตื่นตัว และเปิดช่องทางอีคอมเมิร์ซของตัวเองให้เร็วที่สุด
ทว่าการมีร้านค้าออนไลน์ก็ไม่ต่างอะไรกับร้านค้าแบบเดิม ๆ ที่มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยคละกันไป บทความนี้ จึงจะมาชี้ชัดให้เห็นถึงจุดเด่นและข้อจำกัดของ ecommerce เทียบกับการขายหน้าร้าน ที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้ค้า พร้อมแนะนำแนวทางที่จะช่วยอุดรอยรั่ว กำจัดจุดอ่อนของร้านค้ารูปแบบนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของการมีร้านค้าบน Ecommerce Platform
ข้อดีของการมีร้านค้าบน Ecommerce Platform ซึ่งในที่นี้จะขอพูดถึงเว็บไซต์ขายของออนไลน์เป็นหลัก จะมีอะไรบ้าง สามารถดูได้ด้านล่างนี้
ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
การเปิดเว็บไซต์ขายของออนไลน์ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเริ่มต้นธุรกิจแบบดั้งเดิมหลายด้าน ทั้งในด้านของค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเดินทาง หรือค่าสต๊อกสินค้า ซึ่งแม้จะแบรนด์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าออกแบบเว็บไซต์ หรือค่าเว็บโฮสต์และโดเมน แต่ถ้าหากเทียบกันแล้ว การเปิดร้านค้าอีคอมเมิร์ซค่อนข้างดำเนินการได้ง่ายในราคาที่ถูกกว่าการตั้งหน้าร้านอยู่มาก
ยกตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคุณต้องการที่จะเจาะตลาดด้วยการเปิดหน้าร้านในย่านการค้าที่เดินทางสะดวก อาจจะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการเช่าคูหาหลักแสนและค่ารีโนเวท ตกแต่ง รวมถึงค่าทำป้ายติดหน้าร้านหลักล้าน ขณะที่การสร้างเว็บไซต์กับผู้เชี่ยวชาญ เช่น SEP Platform มีราคาเริ่มต้นอยู่ในช่วงหลักหมื่นเท่านั้น และครอบคลุมบริการออกแบบเว็บไซต์ การอัปเดตระบบ พร้อมผู้ช่วยดูแลแก้ปัญหาความขัดข้องตลอดเวลา สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ การเริ่มต้นด้วยเว็บไซต์ขนาดเล็ก และใช้เงินลงทุนกับการตลาดออนไลน์จึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ
นอกจากนี้การขายออนไลน์ยังเปิดโอกาสให้มีการทำดรอปชิป (Dropship) ซึ่งเป็นการขายของอีกรูปแบบ คล้ายกับการเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยไม่ต้องผลิตและจัดเก็บสินค้าช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำธุรกิจลงไปอีกขั้นหนึ่ง
ปรับขยายขนาดได้ตามชอบ
ความสามารถในการปรับขยายขนาดได้ตามชอบ นับเป็นข้อได้เปรียบที่เป็นรูปธรรมที่สุดสำหรับการเติบโตในระยะยาวเมื่อเทียบกับห้างร้านในโลกความเป็นจริง ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการขยับขยายหน้าร้านสักครั้งหนึ่ง เราอาจต้องใช้เงินลงทุนในการเช่าและตกแต่งสถานที่ใหม่ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการย้ายสต๊อกสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากที่หนึ่งสู่ที่หนึ่ง
แต่ถ้าต้องการปรับขยายร้านค้าออนไลน์ หรือเพิ่มหน้าต่างการใส่รายละเอียดสินค้าใหม่ กลับสามารถทำได้ด้วยคลิกเพียงไม่กี่คลิก เช่นเดียวกับการอัปเดตฟังก์ชันของเว็บไซต์ให้มีความซับซ้อน หรือขยายพื้นที่รองรับจำนวนผู้เข้าชมที่มากขึ้นก็สามารถทำได้ด้วยความง่ายที่ไม่ต่างกัน ทั้งยังสามารถใช้โดเมนเดิมให้ลูกค้าหาเราเจอเสมอไม่ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร การปรับแก้เหล่านี้อยู่ในช่วงราคาที่รับรองเลยว่าไม่มีทางสูงเท่าการขยายหน้าร้านแบบเดิม ๆ แน่นอน
สร้างยอดขายได้อย่างไร้ขีดจำกัด
แน่นอนว่าระบบขายของออนไลน์ช่วยสร้างยอดขายได้อย่างไร้ขีดจำกัดด้วยอิสระทางด้านพื้นที่และเวลา ทำให้ลูกค้าต่างไลฟ์สไตล์สามารถเข้ามาชมและช็อปได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด ทั้งยังเปิดโอกาสให้ร้านเล็ก ๆ ได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านการติดหน้าค้นหาของ Search Engine ด้วย นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อลูกค้าและตัวธุรกิจ เช่น
เก็บข้อมูลลูกค้าได้ตรงจุด
อีคอมเมิร์ซช่วยให้ร้านค้าเก็บข้อมูลลูกค้าได้ตรงจุด หรือกระทั่งผู้ที่แค่เข้ามาชมแต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อก็ตาม โดยข้อมูลที่สามารถเก็บได้ เช่น ข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมการซื้อ และหน้าสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมสูง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีค่าสำหรับการปรับหรือต่อยอดกลยุทธ์ให้ดึงดูดใจลูกค้า ด้วยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดเด่น หรือเทรนด์ที่กำลังมาในช่วงนี้สำหรับคนแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
ตัวข้อมูลยังทำให้แบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุดขึ้นด้วย เพราะบางครั้งคนกลุ่มหนึ่งอาจเพียงเข้ามาดูสินค้าแต่ไม่ได้ตัดสินใจซื้อ ขณะที่อาจมีอีกกลุ่มที่มีกำลังซื้อและตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่า ซึ่งการทราบข้อมูลในส่วนนี้ จะช่วยให้เราเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้องเพื่อเพิ่มยอดขายได้
สร้างประสบการณ์การช็อปปิงแบบเฉพาะบุคคล
การวิเคราะห์และเก็บข้อมูลการท่องเว็บไซต์ ช่วยสร้างประสบการณ์การช็อปปิงแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Shopping Experience) เพราะตัวเว็บมักมีข้อมูลเช่น ประวัติการสั่งซื้อ ความสนใจ และที่อยู่อาศัยของลูกค้า ทำให้สามารถเสนอโฆษณาตามความสนใจเฉพาะบุคคลได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความประทับใจอื่น ๆ เช่น การให้ส่วนลดพิเศษ การส่งข้อความต้อนรับแบบกำหนดเอง หรือการแปลงค่าสกุลเงินตามพื้นที่ที่ล็อกอิน เป็นการเสนอประสบการณ์การซื้อของที่เป็นส่วนตัวมากขึ้นให้กับลูกค้า และจูงใจให้พวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์ของเราได้ง่ายขึ้น
สามารถเปรียบเทียบราคาได้
ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคาได้ง่ายเมื่อผลิตภัณฑ์อยู่ในโลกออนไลน์ เพราะแทนที่จะต้องไปศึกษาจากร้านหนึ่งสู่อีกร้านหนึ่ง ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยการเปิดหน้าเว็บไซต์เทียบกัน ทั้งราคา ส่วนผสม คุณภาพ ทำให้สามารถเลือกสินค้าที่คุ้มค่า คุ้มราคา และตอบโจทย์แต่ละคนมากที่สุด
การซื้อขายเป็นระบบ
ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์เสริมให้การซื้อขายเป็นระบบมากขึ้น โดยเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่ดี จะมีระบบที่ช่วยแอดมินและลูกค้าให้ใช้งานเว็บไซต์ได้ง่าย เช่น ระบบติดตามสินค้าคงคลังอัตโนมัติที่แสดงสถานะสต๊อกอัปเดตได้เรียลไทม์ ช่วยให้การทำงานของแอดมินง่ายขึ้น ตลอดจนระบบการทำใบสั่งซื้อที่ละเอียด ถูกต้อง ระบบการรับชำระเงินที่หลากหลาย และระบบการขนส่งที่มีบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์ชัดเจน ให้การติดตามพัสดุเป็นไปได้อย่างแม่นยำ เหล่านี้ล้วนเป็นระบบที่เอื้อต่อการดำเนินการสั่งซื้อของลูกค้า ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้เกิดขึ้น
จัดการเนื้อหาได้ด้วยตนเอง
การมี Ecommerce Platform ส่วนตัวยังช่วยให้แบรนด์สามารถจัดการเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการที่อัปเดตอยู่เสมอ การจัดหมวดหมู่สินค้าตามตัวอักษร สินค้าขายดี สินค้าที่มาใหม่ การใส่ข้อมูลรีวิวที่ลูกค้าได้ฟีดแบ็กมา ไปจนถึงการแจ้งโปรโมชันพิเศษ และนำเสนอบล็อกให้ความรู้ สิ่งเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง
สามารถทำการตลาดได้แบบเรียลไทม์
อีกหนึ่งข้อดีของการมีร้านค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คือ เราสามารถทำการตลาดได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่างเช่น การนำเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแสมาปรับเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ง่าย ทันกระแสโลก และมีโอกาสเป็นไวรัล ทั้งยังสามารถปรับแผนการตลาดออนไลน์ได้ทันทีตามผลลัพธ์ที่ได้รับ นับเป็นการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ
จุดอ่อนของธุรกิจร้านค้าออนไลน์
ส่วนจุดอ่อนของธุรกิจร้านค้าออนไลน์สามารถระบุได้ 5 ประการหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
การแข่งขันสูง
ธุรกิจร้านค้าออนไลน์มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากการสร้างร้านค้าออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากและต้นทุนก็ไม่สูง เห็นได้ชัดผ่านช่องทางเช่น Marketplace ที่มีสินค้าลักษณะเหมือนกันเรียงรายเป็นตัวเลือกให้ลูกค้า ทำให้ร้านค้าต้องสู้กันด้วยกลยุทธ์หลากหลาย เช่น จัดเซตสินค้าราคาคุ้ม การทำโปรโมชันต่าง ๆ รวมถึงการใช้งบไปกับการโฆษณาออนไลน์และทำการตลาดช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ร้านเป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ดีสำหรับใครที่งบน้อย ก็มีวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้การตลาดทางอีเมลเพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้า หรือการทำ SEO ให้หน้าเว็บติดอันดับการค้นหาตามธรรมชาติ เป็นต้น
ลูกค้าไม่ได้สัมผัสสินค้าจริง
ข้อเสียเปรียบสำคัญอีกประการสำหรับร้านค้าออนไลน์ คือ ลูกค้าไม่ได้สัมผัสสินค้าจริง ซึ่งโลกออนไลน์ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ทดแทนข้อจำกัดนี้ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีอย่าง Augmented Reality หรือ Virtual Reality เข้ามาช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการขายสินค้าออนไลน์แล้วก็ตาม ข้อจำกัดนี้ส่งผลให้ผู้ซื้อที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การลองสวมหรือลองใช้จริงรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้เท่าไหร่นัก
มาตรฐานความปลอดภัย
ผู้ประกอบกิจการร้านค้าออนไลน์ต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพราะเราจะต้องจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นประวัติ ที่อยู่ ข้อมูลบัตรเครดิตหรือธุรกรรม หากตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มผิดพลาด ไม่มีมาตรฐาน ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อทั้งลูกค้าและตัวแบรนด์ได้ ดังนี้ทางที่ดีจึงควรศึกษาและเลือกแพลตฟอร์ที่ให้ความสำคัญในการปกป้องข้อมูล และได้รับการรับรองว่าช่องทางการชำระเงินมีความปลอดภัย เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น SEP Platform ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างร้านค้าออนไลน์ฟังก์ชันครบครัน ก็มีการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทั่วโลกด้วยระบบการแปลงสกุลเงินของสินค้า พร้อมทั้งระบบชำระเงินที่มีให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะผ่านการโอนเงินเข้าธนาคาร หรือการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต รับรองด้วยมาตรฐาน PCI DSS ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลบัตรชำระเงินระดับโลก สร้างความสบายใจให้กับทั้งผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์และผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้า
ข้อบกพร่องทางเทคนิค
ข้อบกพร่องทางเทคนิคนับเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับการเปิดเว็บไซต์ ecommerce เพราะแค่เว็บกระตุก ก็เท่ากับสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้าแล้ว แต่ถ้าเว็บไซต์ล่ม ระบบการชำระเงินมีปัญหา ก็เท่ากับว่าแบรนด์อาจเสียโอกาสสำคัญในการทำยอดสินค้าไป ระบบขายของออนไลน์ที่ตอบโจทย์จึงจะต้องมีความเสถียรเพื่อป้องกันเหตุการณ์ระบบล่มไม่ให้เกิดขึ้น และอาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่คอยดูแลและแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที
การจำกัดด้วยอินเทอร์เน็ต
ต่อให้ร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ร้านค้าพวกนี้มีการจำกัดด้วยอินเทอร์เน็ต หมายถึง ถ้าลูกค้าไม่มีอินเทอร์เน็ตให้เชื่อมต่อ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าชม หรือซื้อสินค้าและบริการได้เลย
กำจัดจุดอ่อนด้วย ecommerce platform คุณภาพ
กำจัดจุดอ่อนด้วย ecommerce platform คุณภาพ เพราะหากสังเกตดูแล้วจุดอ่อนหลายข้อของการเปิดร้านค้าออนไลน์สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้แพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐาน พร้อมมีทีมที่ช่วยดูแลหลังบ้าน คอยประสานและแก้ปัญหาในยามฉุกเฉินให้เว็บไซต์สามารถกลับมาดำเนินการปกติได้เร็วที่สุด ยิ่งถ้าแพลตฟอร์มนั้นมีฟังก์ชันระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ครบครันควบคู่ไปด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเป็นผลดีในการสร้างร้านค้าออนไลน์ที่มีคุณภาพในสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด
สรุป
การเปิดร้านค้าออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาก่อนตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยปิดรอยรั่วและเสริมให้ธุรกิจออนไลน์ของเราเติบโตอย่างแข็งแรงต่อไป