10 เหตุผลทำไมธุรกิจในยุคดิจิทัลยังต้องมีเว็บไซต์ ecommerce 10/Oct/2024 12:00 PM
10 เหตุผลทำไมธุรกิจในยุคดิจิทัลยังต้องมีเว็บไซต์ ecommerce
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สำหรับประเทศไทยแล้ว การจะทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัยช่องทางในการทำการตลาดและการค้าขายผ่านทั้งช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมถึงช่องทางที่เป็น E-Marketplace อย่างเช่น Lazada และ Shopee เป็นต้น ทว่า “เว็บไซต์ยังจำเป็นอยู่ไหม”
คำตอบของคำถามข้างต้น คือ “จำเป็นอย่างแน่นอน” เพราะถึงแม้ช่องทางโซเชียลมีเดียจะช่วยสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า และช่องทาง E-Marketplace จะเป็นช่องทางแรก ๆ ที่ผู้บริโภคมักนึกถึง แต่ทั้งคู่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ที่ไม่อาจตอบโจทย์การเติบโตของธุรกิจในฝั่งของออนไลน์ในระยะยาวได้ บทความนี้จึงขอนำเสนอ 10 เหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจในยุคดิจิทัลยังต้องมีเว็บไซต์ ecommerce อยู่ พร้อมแนะนำผู้ช่วยคนสำคัญสำหรับการสร้างเว็บไซต์
สถิติสนับสนุนพฤติกรรมการซื้อของบนเว็บไซต์
สถิติสนับสนุนพฤติกรรมการซื้อของบนเว็บไซต์จากรายงานของ Google ร่วมกับ Ipsos และ SixthFactor ที่ได้ไปสัมภาษณ์ และสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย และอินโดนีเซีย เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าระหว่างเว็บไซต์ของแบรนด์ (Brand.com) และตลาดออนไลน์ (Marketplace) ชี้ให้เห็นว่า
- ในกลุ่มผู้ที่ซื้อสินค้าผ่าน Marketplace มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์มากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 1.22 เท่า แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่แบรนด์ควรลงทุนในเว็บไซต์ของตนเอง เนื่องจากผู้บริโภคยังคงพึ่งพาเว็บไซต์แบรนด์ในกระบวนการซื้อสินค้า
- สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงกว่า 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ผู้ซื้อจะมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์แบรนด์มากกว่า เนื่องจากพวกเขารู้สึกมั่นใจว่าสินค้านั้นเป็นของแท้ และสามารถติดต่อแบรนด์โดยตรงหากมีปัญหาเกิดขึ้น
- ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเว็บไซต์แบรนด์มากขึ้น โดย 1.25 เท่าของผู้ซื้อยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับจากเว็บไซต์แบรนด์นั้นถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ในขณะที่ 1.12 เท่ายืนยันว่าเว็บไซต์ของแบรนด์ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ได้มากขึ้น
จากผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่าเว็บไซต์แบรนด์มีศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่งในอนาคต ส่งผลผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อแบรนด์มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น
- ความคาดหวังที่แบรนด์จะสามารถนำเสนอโปรโมชั่นที่พิเศษกว่าที่เคยเจอในฝั่งของ Social Commerce และ E-Marketplace
- ความคาดหวังด้านการนำเสนอสินค้าที่เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้น ไปจนถึงการนำเสนอสินค้าที่ Personalised ตามความเหมาะสมและความต้องการของส่วนบุคคลมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- ความคาดหวังในด้านการทำการตลาดแบบลูกค้าสัมพันธ์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CRM (Customers Relationship Management)
ความคาดหวังเบื้องต้นทั้ง 3 นี้ เป็นความคาดหวังหลัก ๆ ที่ผู้บริโภคจะมีต่อแบรนด์มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น ช่องทางที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจของเราเก็บข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพฤติกรรม ข้อมูลความสนใจ กระทั่งข้อมูลของความต้องการของผู้บริโภคได้ จนทำให้แบรนด์สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ และนำเสนอโปรโมชันต่าง ๆ ได้ตรงใจลูกค้าและทันเวลา นำกระแสมากขึ้นจึงสำคัญ และเว็บไซต์สำหรับธุรกิจก็เป็นคำตอบของสมการนี้นั่นเอง
ต่อมา เราจะมาดูกันถึงข้อดีอีก 10 ประการที่จะตอบคำถามให้ชัดขึ้นได้ว่าทำไมธุรกิจจึงยังต้องมีเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักสำคัญ ตามข้อมูลดังต่อไปนี้
1.ตอบโจทย์เรื่องความน่าเชื่อถือของแบรนด์
เว็บไซต์ช่วยตอบโจทย์เรื่องความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เพราะปัจจุบันนี้ผู้บริโภคมักจะเข้าถึงข้อมูลและความรู้กันมากขึ้น ผ่านการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองเสมอ ทำให้ความเข้าใจของผู้บริโภคไปในทิศทางว่า หากธุรกิจไหนที่มีเว็บไซต์และมีโครงสร้าง เนื้อหาบทความ พร้อมกับระบบการขายสินค้าบนเว็บไซต์ครบครันแล้ว ธุรกิจนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือ จากการลงทุนในช่องทางเว็บไซต์อย่างจริงจัง
2. สร้างจุดแตกต่างจากคู่แข่งบนโลกออนไลน์
เว็บไซต์ธุรกิจเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ของเราแตกต่างจากคู่แข่งบน โลกออนไลน์ เช่น เมื่อผู้บริโภคเลือกค้นหาคีย์เวิร์ดสินค้าผ่าน Search Engine เช่น Google ที่เป็นระบบ Search Engine อันดับหนึ่งของโลก แล้วเจอเว็บไซต์ธุรกิจของแบรนด์ไหน ก็จะยิ่งสื่อสะท้อนให้เห็นความน่าเชื่อถือและความมีตัวตนที่แท้จริง หากธุรกิจแวดวงไหนมีการแข่งขันที่เข้มข้น และมีลูกค้าที่ค้นหาสินค้าบริการผ่าน google หากพบเจอเว็บไซต์ธุรกิจของเราก็จะถือได้ว่าเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งได้
จากรายงานของ Klarna แสดงให้เห็นว่าจุดเริ่มต้นของการซื้อสินค้าส่วนใหญ่มักเริ่มจากออนไลน์ โดย 44% ของนักช็อปเริ่มต้นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่าน Search Engine ก่อนตัดสินใจซื้อ และอีก 41% เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์โดยตรง เช่น Amazon หรือเว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรง
3.เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ท้องถิ่นหรือใกล้เคียง
ต่อมาเว็บไซต์มีผลต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ท้องถิ่นหรือใกล้เคียง โดยจากข้อก่อนหน้า เราพบว่าผู้บริโภคมักจะค้นหาสิ่งที่ต้องการผ่าน Google และหนึ่งในบริการที่น่าสนใจก็คือ Google Map ที่มีอัตราการค้นหาจากผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคนด้วยกัน กลายเป็นอีกช่องทางที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีหน้าร้าน หรือ ธุรกิจบริการอาทิ คลินิก โรงพยาบาล สปา และร้านอาหาร ที่ผู้บริโภคมักค้นหาชื่อประเภทของธุรกิจ ตามด้วยคำว่า Nearby หรือ ใกล้ฉัน
หากเรามีเว็บไซต์ธุรกิจและเว็บไซต์ของเราเชื่อมต่อกับ Google Map ก็จะยิ่งทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างประหยัดค่าโฆษณาพร้อมได้ลูกค้าที่มีความต้องการอยู่แล้วด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก think with google กล่าวไว้ว่า กว่า 76% ของคนที่ค้นหาสินค้า หรือบริการที่ต้องการพร้อมกับการพิมพ์ว่า Nearby หรือใกล้ฉัน จะเดินทางไปใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากธุรกิจท้องถิ่นนั้น ๆ ในวันเดียวกันกับที่ค้นหาข้อมูล และ 28% จาก 76% ตัดสินใจซื้อเมื่อไปถึงสถานที่นั้น ๆ ทำให้เห็นได้ว่าหากเรามีเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ พร้อมกับการมีตัวตนอยู่ใน Google My Business ด้วยก็จะยิ่งเป็นการเสริมคะแนนการมีตัวตน พร้อมความน่าเชื่อถือจาก Google ไปควบคู่กัน
4.เราเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มแต่เพียงผู้เดียว
การที่เราเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มแต่เพียงผู้เดียวมีข้อดี คือ เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ หน้าตาของเว็บไซต์ พื้นที่การจัดจำหน่ายสินค้า วิธีการตอบสนองลูกค้าด้วยโปรโมชันที่หลากหลาย รวมถึงสามารถออกแบบประสบการณ์ที่ลูกค้าจะเจอได้ตามอย่างที่เราได้ข้อมูลของลูกค้าผ่านเว็บไซต์ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะมีอะไรที่ปรับเปลี่ยนโดยที่เราไม่รู้มาก่อน เช่น การที่เราเจออัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
5.สามารถออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้
สามารถออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ในการช็อปปิ้งผ่านช่องทางเว็บไซต์ ecommerce ซึ่งประสบการณ์ในที่นี้หมายถึงการออกแบบเส้นทางการเดินทางของลูกค้าผ่านเว็บไซต์ ว่าเราอยากให้เขาเข้าเว็บไซต์ของเราแล้วพบเจออะไรบ้าง มีบทความอะไรที่ที่เป็นประโยชน์กับเขาบ้าง มีกิจกรรมอะไรที่สามารถให้เขาใช้เวลาและยังได้โปรโมชั่นสิทธิพิเศษกลับไปด้วย หรือเรื่องของการแนะนำสินค้าให้ตรงกลุ่มและโจทย์ตามที่ลูกค้ามองหาอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการดีไซน์ กล่าวคือ การออกแบบดีไซน์ ปุ่ม หรือหน้าตาของเว็บไซต์ให้เป็นไปอย่างที่ลูกค้าชอบ ร่วมในการสร้างเสริมประสบการณ์ด้วย
ทั้งหมดทั้งมวลถือเป็นเรื่องของการออกแบบประสบการณ์ที่ดีบนหน้าเว็บไซต์ให้กับลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ พร้อมทำให้เกิดกิจกรรมภายในเว็บ และได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ เป็นข้อได้เปรียบที่มีมากกว่าช่องทางอื่น ๆ และหากเราใช้เพียงช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเดียว ก็จะไม่สามารถออกแบบและพัฒนาประสบการณ์ดี ๆ เช่นนี้ให้กับลูกค้าได้เลย
Nike หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนของการสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ยอดเยี่ยมผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์ โดยเฉพาะแคมเปญอย่าง Nike by You ที่ลูกค้าสามารถออกแบบรองเท้าได้ตามความต้องการ และตามสไตล์ของตนเองบนเว็บไซต์ของ Nike ซึ่งการให้ลูกค้าได้ปรับแต่งสินค้าด้วยตัวเองนี้นอกจากจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่น่าประทับใจผ่านเว็บไซต์อีกด้วย
นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ Nike ยังได้รับออกแบบมาอย่างดีทั้งในแง่ของการใช้งานและการแสดงผล มีการออกแบบปุ่มการใช้งานที่ชัดเจน และเข้าใจง่าย ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้า บทความที่เป็นประโยชน์ หรือโปรโมชันพิเศษได้อย่างสะดวก ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ พร้อมทั้งมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งที่มีเอกลักษณ์ และเป็นส่วนตัว
6. สามารถติดตั้งเครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้
อย่างที่เราเกริ่นกันมาในข้อก่อนหน้าแล้วว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ เราจะสามารถออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า พร้อมกับใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงลึกให้กับลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น Google Analytics ซึ่งปัจจุบัน คือ Google Analytics 4 ที่เป็นเครื่องมือในการติดตั้งเพื่อให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลจากกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลภายในเว็บ การเลื่อนดูสินค้า การคลิกเพื่อดูโปรโมชัน การกรอกข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในเว็บไซต์ โดยเราสามารถนำ Google Analytics 4 มาช่วยสร้าง Dashboard ในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าแท้จริงแล้ว ลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์ธุรกิจของเรานั้นมาจากช่องทางไหน สนใจคอนเทนต์ประเภทไหน ไปดูสินค้าไหนมาก่อนจะมาซื้อสินค้านี้ และนี่เป็นเพียงตัวอย่างของข้อมูลที่เราสามารถรู้ได้หากเรามีเว็บไซต์สำหรับธุรกิจและมีการติดต่อ Google Analytics 4 ในการวิเคราะห์ต่อยอดข้อมูลได้
7. เป็นช่องทางการขยายตลาดไปต่างประเทศ
เว็บไซต์ธุรกิจเป็นช่องทางการขยายตลาดไปต่างประเทศ เพราะถึงแม้ตลาดธุรกิจออนไลน์อาจจะเน้นการซื้อขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย และ E-Marketplace มากกว่าแต่ในต่างประเทศ ทั้งประเทศใหญ่ ๆ หรือ ประเทศที่เป็นผู้นำของโลกไม่ว่าจะเป็นอเมริกา จีนหรือแม้กระทั่งสิงคโปร์ ที่ถือว่าเป็นผู้นำในฝั่งของ ASEAN นั้น เวลาตัดสินใจซื้อสินค้าอะไร ก็จะมีการซื้อผ่านเว็บไซต์กันส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดีเว็บไซต์ธุรกิจต้องมีความน่าเชื่อถือ มีโครงสร้างที่ทำให้ผู้ใช้งานใช้ได้ง่ายประกอบด้วย กล่าวโดยสรุป คือ เมื่อเรามีเว็บไซต์ที่พร้อมก็จะตอบโจทย์ในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
8.เป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนค่าวางสินค้าใน Marketplace
เว็บไซต์ยังเป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนค่าวางสินค้าใน Marketplace หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน จะเห็นว่าต้นทุนค่าฝากวางสินค้าในช่วงแรก ๆ ของการทำการตลาดออนไลน์ถือเป็นโอกาสที่ดี หลายธุรกิจไม่ต้องมีเงินทุนมากก็สามารถเริ่มได้เลย เพราะค่าฝากวางหรือหลาย ๆ ที่อาจจะเรียกว่าค่า GP นั้นไม่มีเลย
แต่พอมาทุกวันนี้เกมการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง โดยพื้นฐานค่า GP สำหรับทั้งในฝั่งของ Marketplace และ โซเชียลมีเดีย (social media) เริ่มมีราคาขึ้นไปตั้งแต่ 30% - 40% เลยทีเดียว ยังไม่นำรวมเรื่องของการตัด commission ให้กับทาง Affiliate ในฝั่งของออนไลน์อีก
ในทางกลับกันการมีเว็บไซต์เป็นของธุรกิจเองจะช่วยให้เราสามารถลดต้นทุนในเรื่องนี้ได้ในระยะยาว เพราะเราจะสามารถนำส่วนที่ต้องเป็นการจ่ายค่าฝากวางสินค้ามาทำการตลาดและการสื่อสารอื่น ๆ ให้กับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด โปรโมชัน ลูกค้าสัมพันธ์และอื่น ๆ อีกมากมายเลย
9.เป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนในการโฆษณา
เว็บไซต์เป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนในการโฆษณา กล่าวคือ เมื่อเรามีเว็บไซต์ของธุรกิจของเรา ที่เราสามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าได้ ติดตามพฤติกรรมได้ วิเคราะห์ต่อยอดได้แล้ว เราสามารถนำข้อมูลแล้วนั้นมาวางแผนการทำการตลาดได้เพิ่มเติมกับฐานข้อมูลของลูกค้าที่เรามีอยู่ภายในเว็บไซต์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพราะถือว่าเรามีกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วว่าเขามีความสนใจในแบรนด์ของเรา หลังจากที่เคยเข้ามาค้นหาข้อมูล หรือ ดูสินค้าผ่านเว็บไซต์ธุรกิจมาแล้ว
หรือที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Retargeting Ads หรือการที่เรามีถังเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นอีเมล เบอร์โทร หรือ ข้อมูลที่เขาเคยมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา
10 เป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินของธุรกิจ
หากเว็บไซต์ธุรกิจของเรานั้นมีจำนวนผู้เข้าชมสะสมเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เว็บไซต์ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้ เพราะสามารถนำมาต่อยอดในการขยายธุรกิจอื่น ๆ หรือ การนำเสนอสินค้าใหม่ ๆให้กับกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเว็บไซต์ได้อีกด้วย อีกทั้งบางเว็บไซต์สามารถแปลงพื้นที่ภายในเว็บให้กลายเป็นธุรกิจสื่อได้เช่นกัน โดยที่การประเมินมูลค่าของเว็บไซต์ธุรกิจนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยด้วยกันคือ
1.มูลค่าการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ธุรกิจ
มูลค่าการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ธุรกิจ คือ จำนวนรายได้ที่เราได้มาจากการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ ecommerce ของธุรกิจเรา สำหรับปัจจัยนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรายได้ที่ได้จากการขายสินค้าอย่างเดียว แต่อาจจะมีรายได้ที่มาจากการเป็นพื้นที่โฆษณา รายได้ที่เกิดจากการเป็น Affiliate เป็นต้น
2.จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือน (Monthly Website Visitors) มีการคำนวณจากสองส่วนคือ
- Monthly Unique Visitors หรือ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือน
- Number of Page Views หรือ จำนวนการเข้าชมหน้าเว็บไซต์
และนอกเหนือจากการคำนวณมูลค่าที่เกิดจากจำนวนคนการเข้าชมแล้ว จะต้องคำนวณจากตัวเลขคุณภาพด้วย คือ เวลาที่เข้าใช้เว็บไซต์ แหล่งที่มาของการเข้าชม ความถี่ที่เข้ากลับมาเยี่ยมชม
ตัวเลขในข้อนี้จะเป็นการชี้วัดว่าเว็บไซต์ยังมีกลุ่มคนที่สนใจอยู่ ยังมีโอกาสที่จะต่อยอดในการขายสินค้า หรือใช้เป็นช่องทางในการตลาดได้อีกด้วย
3.คุณภาพ SEO ของเว็บไซต์
SEO หรือ search engine optimisation หรือการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในการค้นหาผ่านระบบการค้นหา หรือ search engine แบบ Google มีหลากหลายวิธีการทั้งการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพในเว็บไซต์ของเรา และการพูดถึงแบรนด์ของเราผ่านเว็บไซต์คนอื่น ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นการเปิดประตูให้เว็บไซต์ธุรกิจได้สามารถมีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
ทั้งหมดนี้ คือ 10 เหตุผลที่ตอบคำถามชัดเจนว่าทำไมธุรกิจในยุคดิจิทัลจะต้องมีเว็บไซต์ หากใครที่ต้องการเริ่มต้นศึกษาข้อมูลการมีเว็บไซต์สำหรับธุรกิจของคุณ ไม่ต้องรอช้า สามารถเข้ามาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญการสร้างเว็บไซต์ ecommerce ได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้เลย